วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555


                                                        รางวัลโนเบล
ความเป็นมาของรางวัลโนเบล (Nobel prize)
อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ชุดดินระเบิด
ที่เรียกว่า ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) หรือระเบิดไดนาไมต์ รู้สึกเสียใจ
ที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1896
เขาระบุในพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้นำไปตั้งมูลนิธิโนเบล เพื่อเป็นการสนับสนุน และมอบรางวัลให้แก่บุคคลที่มีผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณ
ประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ โนเบลแสดงเจตนารมณ์ไว้ในพินัยกรรมของเขา
อย่างชัดแจ้งว่า "...It is my express wish that in awarding the prizes no consideration be given to the nationality of the candidates, but that the most worthy shall receive the prize, whether he be Scandinavian or not. ..." ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลนี้ต้องเป็น "บุคคลผู้อำนวยคุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ" โดยไม่จำกัดว่าบุคคลผู้นั้น
จะมีเชื้อชาติไหน พูดภาษาใด

พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยจัดขึ้น
ครั้งแรกหลังจากโนเบลเสียชีวิตไปได้ 5 ปี (ค.ศ. 1901) มี 5 สาขา คือ คือ ฟิสิกส์
(physics) เคมี (chemistry) การแพทย์และสรีรวิทยา (physiology or
medicine) วรรณกรรม (literature) สันติภาพ (peace) และในปี ค.ศ. 1969
จึงเพิ่มรางวัลอีก 1 สาขา คือสาขาเศรษฐศาสตร์ (economic)

ผู้พระราชทานรางวัลโนเบลคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน
แม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะเวลา
ของการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี รางวัลที่มอบให้ประกอบด้วย เหรียญทอง
ที่ด้านหน้าสลักเป็นรูปหน้าของอัลเฟร็ด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและเงินสด

รางวัลโนเบลถือ เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่และทรงเกียรติของชาวโลก ถือเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ บ่งบอกถึงความเก่งกาจ ยอดเยี่ยม และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสงบและสันติของสังคมโลก




ที่มา : หนังสือ NOBEL PRIZE 100 ผู้พิชิตรางวัลโนเบล ผู้เขียน ศ.ดร. สุทัศน์ ยกส้าน, รศ. ดร. ญาดา ประภาพันธ์, พ.ท.ผศ.ดร. พีรพล สงนุ้ย, พ.ท.ผศ.ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์, ร.อ. ชุมพล รักงาม, พ.อ.หญิง ชมนาค เทียมพิภพ, ลอองทิพย์ อัมรินทร์รัตน์, วรุณยุพา ฮอล ลิงกา

                              
                        รางวัลซีไรต์

ความเป็นมารางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยความคิด
ริเริ่มจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลในขณะนั้น โดยได้รับความสนับสนุนอย่างมากจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร เชื้อพระวงศ์ผู้ทรงความรอบรู้สามารถ และเป็นที่เคารพในแวดวงอักษรศาสตร์ และจากอีกหลายองค์กร เป็นต้นว่า กลุ่มอิตัลไทย บริษัท การบินไทย จำกัด ใน พ.ศ. 2527 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมให้การสนับสนุน

“รางวัลซีไรต์” มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชู นักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน จาก 5 ประเทศแรกเริ่ม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาอีก 5 ประเทศได้ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา “รางวัลซีไรต์” จึงได้มอบรางวัลให้แก่ทุกประเทศสมาชิกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ภายในประเทศพม่าได้งดส่งผู้เข้ารับรางวัลมานับแต่ พ.ศ. 2544

“รางวัลซีไรต์” จัดเป็นรางวัลเดียวในโลกที่มอบรางวัลทางวรรณกรรมให้แก่นักเขียนจากหลากหลายประเทศ
ภายในภูมิภาคเป็นรางวัลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยกย่องในแวดวงวรรณกรรมทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นรางวัลที่สร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิที่สง่างามให้แก่ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ด้วย

ประธานคณะกรรมการดำเนินงานคัดเลือกและตัดสินรางวัลซีไรต์ในภาคประเทศไทยพระองค์แรก คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงได้รับความร่วมมือด้วยดียิ่งจาก “สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย” และ “สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย” เป็นผลให้มาตรฐานการคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลทุกปีนับแต่แรกก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน อยู่ในระดับดีเยี่ยม ดังเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมวรรณกรรมไทยมาโดยตลอด

พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชทานรางวัลเมื่อ พ.ศ. 2522 ปีแรกแห่งการก่อตั้ง และต่อมา ได้ทรงโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ หรือสมเด็จพระเทพรัตน์
ราชสุดาฯ เสด็จพระราชทานรางวัลทุกปีนั้น ได้ส่งเสริมให้ “รางวัลซีไรต์” เป็นรางวัลที่ทรงเกียรติและสูงค่า และงานพระราชทานรางวัลเป็นงานราตรีสโมสรทางวรรณกรรมประจำปีที่โดดเด่นที่สุดในประเทศไทยด้วย

ด้วยเกียรติภูมิที่ “รางวัลซีไรต์” ได้สั่งสมและสืบทอดอย่างงดงามมานานกว่า 30 ปี “รางวัลซีไรต์” ในปัจจุบัน
จึงเป็นรางวัลทางวรรณกรรมประจำปีที่ประชาคมวรรณกรรมไทยและภูมิภาคอาเซียนเฝ้าคอยอย่างจดจ่อ
สื่อมวลชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง นักอ่านชื่นชม อีกทั้งยังนำพาให้เกิดนักเขียนคุณภาพรุ่นใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

รางวัลซีไรต์ (อังกฤษ: S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษ: Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยารวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542

[แก้]รายนามนักประพันธ์ที่ได้รับรางวัลซีไรต์

ปีธงชาติของบรูไน บรูไนธงชาติของกัมพูชา กัมพูชาธงชาติของอินโดนีเซียอินโดนีเซียธงชาติของลาว ลาวธงชาติของมาเลเซีย มาเลเซียธงชาติของประเทศพม่า พม่าFlag of the Philippines ฟิลิปปินส์ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์ธงชาติของไทย ไทยธงชาติของเวียดนาม เวียดนาม
พ.ศ. 2522สุทาดจี คาลซูม บาซรีเอ ซามัด ซาอิดโจลิโค คัวตราเอ็ดวิน นาตาซัน ธัมบูคำพูน บุญทวี
พ.ศ. 2523ปูตู วิจายายาฮารุดดิน ไซนาลนิค ฮัวควินมาซูรี บิน ซาลิกันเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พ.ศ. 2524โกว์นาวา โมฮาหมัดอับดุลลาห์ ฮัซเซนเกรโกริโอ บริลแลนเตสวอง เม็ง วุนอัศศิริ ธรรมโชติ
พ.ศ. 2525มาริแอน คาทอพโพอุสแมน อาวังเอเดรียน อี คริสโตบอลเอ็ม บาลากริชนันชาติ กอบจิตติ
พ.ศ. 2526วาย. บี. มังกุนวิชายาอาคิบา อามินเอดิแบร์โต เทียมโปอาร์เธอร์ ยัปคมทวน คันธนู(ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร)
พ.ศ. 2527บูดิ คาร์มะลาติฟ โมฮิดินเวอร์จิเนีย มอริโนว่อง ยุน หว่าวาณิช จรุงกิจอนันต์
พ.ศ. 2528อับดุล ฮาดิ้รินา วาตีคาเรโด เดเมทิลโลสเมล บิน ฮาจิกฤษณา อโศกสิน(สุกัญญา ชลศึกษ์)
พ.ศ. 2529มุสลิม บุรมัตซาปาร์ดี ดโจโก ดาโมโนเคมาลาโฮเซ ซิซันปารานันอังคาร กัลยาณพงศ์
พ.ศ. 2530ทัจญี ยะห์ยา บิน ทัจญี อิบราฮิมดร. อุมาร์ คัยยามนูร์ดิน ฮัสซันเบียงเวนิโด เอ็น ซานโตสดร. ลี ซู เพ็งไพฑูรย์ ธัญญา(ธัญญา สังขพันธานนท์)
พ.ศ. 2531ฮาจิ ลีมัน บิน อาหมัดดานาร์โตอาซิซิ ฮาจิ อับดุลลาห์เวอร์จิลิโอ เอศ อัลมาริโอลิวไป่อัน หรือ จัวบุนเทียนนิคม รายยวา(นิคม กอบวงศ์)
พ.ศ. 2532ฮาจิ บิน ฮาจิ โมฮัมหมัด ซาอิดเกอร์สัน ปอยส์สิติ ไซมอน อิสไมล์ลีนา เอสปินา มัวร์สุรัตมาน มาร์กาซานจิระนันท์ พิตรปรีชา
พ.ศ. 2533โมหะมัด ซาเลห์ บิน อับดุล ลาติฟอาริฟิน ซี โนเออร์ส. โอธมาน เกลันตันคาร์แมน แกร์โร นักปิลรามา กันนาพิรันอัญชัน(อัญชลี วิวัธนชัย)
พ.ศ. 2534ฮาจิ มูฮัมหมัด ซาอีนสุบาจิโอ ซัสโตรวาร์โดโยจิฮาติ อาบาดิอิซากานิ อาร์ ครูซโกปาล บาราธัมมาลา คำจันทร์(เจริญ มาลาโรจน์)
พ.ศ. 2535Awang Haji Abdul Rahmanอาลี อัคบาร์ เนวิสอิสเมล อับบาสอัลเฟรด เอ ยูซอนเฉิง เหวง ยัดศักดิ์สิริ มีสมสืบ(กิตติศักดิ์ มีสมสืบ)
พ.ศ. 2536เปนกิรัน ฮาจี โมฮัมหมัด ยูซุพรามาดัน เค เอชกามารัซซามัน อับดุล กาดีร์ลินดา ตี-แคสเปอร์มูฮัมหมัด อารีฟ อาห์หมัดศิลา โคมฉาย(วินัย บุญช่วย)
พ.ศ. 2537ยัง มุเลีย อาวัง ฮัจญี มอรซิดี บิน ฮัจญี มัรสัลเตาฟิก อิสมาอิลเอ วาฮับ อลีบูนาเวนจูรา เอส เมดินา จูเนียร์นา โควินทสามีชาติ กอบจิตติ
พ.ศ. 2538เพนกิรัน ฮาจิ อาจิ มูฮัมมัด อับดุล อาซิสอับมาด โทฮาริซูไฮมิ ฮาจิ มูฮัมมัดเตโอ ที อันโตนิโยหลิว ฟู ฉั่น (ดาน ยิง)ไพวรินทร์ ขาวงาม
พ.ศ. 2539เพนกิรัน ฮาจิ สับตุเรนดราซาฮาราห์ นาวาวิไมค์ แอล พิกอร์เนียโฮ มินฟองกนกพงศ์ สงสมพันธุ์โต ฮู
พ.ศ. 2540อาหวัง โมฮัมหมัด บิน หัจญี ติมบังเซโน กูมิรา อยีดารมามูฮัมหมัด หัจญี ซัลเลฮ์อเลฮันโดร โรเซสอีลันโกวันวินทร์ เลียววาริณ
พ.ศ. 2541บาดารุดดิน เอช โอเอ็น ริอานติอาร์โนดร. ทองคำ อ่อนมณีสอนรศ. ดร. ออตมาน ปูเตซินพิวขจุน อองเตงมาร์นี แอล กิลาเตสอับดุล กานิ ฮามิดแรคำ ประโดยคำ(สุพรรณ ทองคล้อย)มา วัน คัง
พ.ศ. 2542นอร์เซีย เอ็ม เอสพิค ตุม คราเวลดร. คุนโทวิโจโย เอ็มเอจันตี เดือนสะหวันคาดิจาห์ ฮาซิมอู่ เคียว อังโอพีเลีย ดีมาลานตาดร. แคทเธอรีน ลิมวินทร์ เลียววาริณฮิว ถิง
พ.ศ. 2543เปฮิน ดาโต๊ะ อับดุล อะซีส บิน จูเนดกุง บุน เชือนวิสรัน ฮาดีสุวันทอน บุปผานุวงลิม สวี ตินดอว์ ยิน ยินอันโตนิโอ เอ็นริเกซเทโอ ฮีลาวิมล ไทรนิ่มนวลเหงียน ไค
พ.ศ. 2544อาหวัง ฮัจจี อิบบราฮิม บิน ฮัจจี มูฮาหมัดเมา อายุทธไซนี เค เอ็มโสมสี เดชาคำพูซากาเรีย อาร์ริฟินอู ทิน จีเฟลิซ พรูเดนเต ซันตา มาเรียโมฮัมเมด อิกบัลโชคชัย บัณฑิต(โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์)เหงียน ดุ๊ก เมา
พ.ศ. 2545รอสลี อบีดิน ยาห์ยาเซง ซัม อันดาร์มันโต จัตมันวิเศษ แสวงศึกษาดร. อันวาร์ บิน ริดห์วันโรแบร์โต ที อโนนูเอโวโมฮัมเหม็ด ลาทิฟ บิน โมฮัมหมัดปราบดา หยุ่นเหงียน เคียน
พ.ศ. 2546รศ.ดร. หะจี ฮาชิม บิน หะจี อับดุล ฮามิดคิม ปินุนเอน เอช ดินีเทียบ วงปะกายดร. ซาคาเรีย อาลีดร. โดมินโก จี. แลนดิโชฟิลิป ชัยรัตนัมเดือนวาด พิมวนา(พิมใจ จูกลิ่น)บาง เวียด
พ.ศ. 2547หะจี จาวาวี บิน อะหมัดเช ชัปกุส ทีเอฟ ซาไกทองใบ โพธิสานซูรินาห์ ฮัซซันดร. เซซาร์ รูอิซ อากีโนดร. ซูน ไอ ลิงเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์โด ชู
พ.ศ. 2548ราฮิมี เอ. บี.เมียช ปอนน์อาเซป แซมแซม นูร์บุญเสิน แสงมณีอับดุล คะฟาร์ อิบราฮิมมาลู ฮาคอบพี. กฤษณันบินหลา สันกาลาคีรี(วุฒิชาติ ชุ่มสนิท)ฟู ตรัม (อินระสะระ)
พ.ศ. 2549สะวัล ราจาบวันนาริรัก ปาลสิเตอร์ สิตูโมรังดวงเดือน บุนยะวงจอง เชียน ไลวิกเตอร์ เอมมานูเอล คาร์เมโล ดี. นาเดรา จูเนียร์อีซา กามารีงามพรรณ เวชชาชีวะเล ฟาน เถา
พ.ศ. 2550หะจี ม็อกซิน บินหะจี อับดัล การดีร์อม สุภาณีสุปาร์โต บราตารัตนวง หุมพันศาสตราจารย์ เราะห์มาน ชารี-ไมเคิล โคโรซาเรกซ์ เชลลีมนตรี ศรียงค์ชัน วัน ตวน
พ.ศ. 2551หะจี โมฮัมมัด บิน แปงกิรัน หะจี อับดุล เราะห์มานซิน โตจฮัมซาด รังกุติโอทอง คำอินซูฮัตตา อาซัด ข่าน-เอลเมอร์ อาลิงโดกัน ออร์โดเนซสเตลลา กอนวัชระ สัจจะสารสิน(วัชระ เพชรพรหมศร)เหวียน หงอก ตือ
พ.ศ. 2552ฮัจญา นอร์เซีย บินติ อับดุล กาปาร์-ฟลอริเบอร์ตุส ราฮาร์ดีคำแสง สีโนนทองอัซมาห์ นอร์ดีน-อับดอน เจอาร์ บัลเดเจีย วี เพงอุทิศ เหมะมูลกาว ยวี เซิน
พ.ศ. 2553วิจยา-อัฟริซัล มัลนาดารา กันละยาซาเอน กัสตูรี-มาจอรี เอวาสโกโจฮาร์ บิน บวงซะการีย์ยา อมตยาเหงียน นัต อัน
พ.ศ. 2554โมฮัมเม็ด เซฟรี
อารีฟ บิน
โมฮัมเม็ด ไซน์ อารีฟ
-ดี. ซาวาวี อิมรอนบุนทะนอง ชมไชผนโมฮัมเม็ด ซากีร์
ไซยิด บิน
ไซยิด ออสมัน
-โรมูโล พี. บากิรัน จูเนียร์รอเบิร์ต เหยา เฉิงชวนจเด็จ กำจรเดช(สถาพร จรดิษฐ)เหงวียน จี๋ ตรุง
พ.ศ. 2555--------วิภาส ศรีทอง-
                                 2