ความเป็นมารางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยความคิด
ริเริ่มจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลในขณะนั้น โดยได้รับความสนับสนุนอย่างมากจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร เชื้อพระวงศ์ผู้ทรงความรอบรู้สามารถ และเป็นที่เคารพในแวดวงอักษรศาสตร์ และจากอีกหลายองค์กร เป็นต้นว่า กลุ่มอิตัลไทย บริษัท การบินไทย จำกัด ใน พ.ศ. 2527 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมให้การสนับสนุน
“รางวัลซีไรต์” มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชู นักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน จาก 5 ประเทศแรกเริ่ม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาอีก 5 ประเทศได้ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา “รางวัลซีไรต์” จึงได้มอบรางวัลให้แก่ทุกประเทศสมาชิกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ภายในประเทศพม่าได้งดส่งผู้เข้ารับรางวัลมานับแต่ พ.ศ. 2544
“รางวัลซีไรต์” จัดเป็นรางวัลเดียวในโลกที่มอบรางวัลทางวรรณกรรมให้แก่นักเขียนจากหลากหลายประเทศ
ภายในภูมิภาคเป็นรางวัลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยกย่องในแวดวงวรรณกรรมทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นรางวัลที่สร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิที่สง่างามให้แก่ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ด้วย
ประธานคณะกรรมการดำเนินงานคัดเลือกและตัดสินรางวัลซีไรต์ในภาคประเทศไทยพระองค์แรก คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงได้รับความร่วมมือด้วยดียิ่งจาก “สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย” และ “สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย” เป็นผลให้มาตรฐานการคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลทุกปีนับแต่แรกก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน อยู่ในระดับดีเยี่ยม ดังเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมวรรณกรรมไทยมาโดยตลอด
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชทานรางวัลเมื่อ พ.ศ. 2522 ปีแรกแห่งการก่อตั้ง และต่อมา ได้ทรงโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ หรือสมเด็จพระเทพรัตน์
ราชสุดาฯ เสด็จพระราชทานรางวัลทุกปีนั้น ได้ส่งเสริมให้ “รางวัลซีไรต์” เป็นรางวัลที่ทรงเกียรติและสูงค่า และงานพระราชทานรางวัลเป็นงานราตรีสโมสรทางวรรณกรรมประจำปีที่โดดเด่นที่สุดในประเทศไทยด้วย
ด้วยเกียรติภูมิที่ “รางวัลซีไรต์” ได้สั่งสมและสืบทอดอย่างงดงามมานานกว่า 30 ปี “รางวัลซีไรต์” ในปัจจุบัน
จึงเป็นรางวัลทางวรรณกรรมประจำปีที่ประชาคมวรรณกรรมไทยและภูมิภาคอาเซียนเฝ้าคอยอย่างจดจ่อ
สื่อมวลชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง นักอ่านชื่นชม อีกทั้งยังนำพาให้เกิดนักเขียนคุณภาพรุ่นใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
รางวัลซีไรต์ (อังกฤษ: S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษ: Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยารวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542
ริเริ่มจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลในขณะนั้น โดยได้รับความสนับสนุนอย่างมากจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร เชื้อพระวงศ์ผู้ทรงความรอบรู้สามารถ และเป็นที่เคารพในแวดวงอักษรศาสตร์ และจากอีกหลายองค์กร เป็นต้นว่า กลุ่มอิตัลไทย บริษัท การบินไทย จำกัด ใน พ.ศ. 2527 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมให้การสนับสนุน
“รางวัลซีไรต์” มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชู นักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน จาก 5 ประเทศแรกเริ่ม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาอีก 5 ประเทศได้ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา “รางวัลซีไรต์” จึงได้มอบรางวัลให้แก่ทุกประเทศสมาชิกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ภายในประเทศพม่าได้งดส่งผู้เข้ารับรางวัลมานับแต่ พ.ศ. 2544
“รางวัลซีไรต์” จัดเป็นรางวัลเดียวในโลกที่มอบรางวัลทางวรรณกรรมให้แก่นักเขียนจากหลากหลายประเทศ
ภายในภูมิภาคเป็นรางวัลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยกย่องในแวดวงวรรณกรรมทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นรางวัลที่สร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิที่สง่างามให้แก่ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ด้วย
ประธานคณะกรรมการดำเนินงานคัดเลือกและตัดสินรางวัลซีไรต์ในภาคประเทศไทยพระองค์แรก คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงได้รับความร่วมมือด้วยดียิ่งจาก “สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย” และ “สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย” เป็นผลให้มาตรฐานการคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลทุกปีนับแต่แรกก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน อยู่ในระดับดีเยี่ยม ดังเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมวรรณกรรมไทยมาโดยตลอด
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชทานรางวัลเมื่อ พ.ศ. 2522 ปีแรกแห่งการก่อตั้ง และต่อมา ได้ทรงโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ หรือสมเด็จพระเทพรัตน์
ราชสุดาฯ เสด็จพระราชทานรางวัลทุกปีนั้น ได้ส่งเสริมให้ “รางวัลซีไรต์” เป็นรางวัลที่ทรงเกียรติและสูงค่า และงานพระราชทานรางวัลเป็นงานราตรีสโมสรทางวรรณกรรมประจำปีที่โดดเด่นที่สุดในประเทศไทยด้วย
ด้วยเกียรติภูมิที่ “รางวัลซีไรต์” ได้สั่งสมและสืบทอดอย่างงดงามมานานกว่า 30 ปี “รางวัลซีไรต์” ในปัจจุบัน
จึงเป็นรางวัลทางวรรณกรรมประจำปีที่ประชาคมวรรณกรรมไทยและภูมิภาคอาเซียนเฝ้าคอยอย่างจดจ่อ
สื่อมวลชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง นักอ่านชื่นชม อีกทั้งยังนำพาให้เกิดนักเขียนคุณภาพรุ่นใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
รางวัลซีไรต์ (อังกฤษ: S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษ: Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยารวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542
[แก้]รายนามนักประพันธ์ที่ได้รับรางวัลซีไรต์
ปี | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2522 | สุทาดจี คาลซูม บาซรี | เอ ซามัด ซาอิด | โจลิโค คัวตรา | เอ็ดวิน นาตาซัน ธัมบู | คำพูน บุญทวี | |||||
พ.ศ. 2523 | ปูตู วิจายา | ยาฮารุดดิน ไซนาล | นิค ฮัวควิน | มาซูรี บิน ซาลิกัน | เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ | |||||
พ.ศ. 2524 | โกว์นาวา โมฮาหมัด | อับดุลลาห์ ฮัซเซน | เกรโกริโอ บริลแลนเตส | วอง เม็ง วุน | อัศศิริ ธรรมโชติ | |||||
พ.ศ. 2525 | มาริแอน คาทอพโพ | อุสแมน อาวัง | เอเดรียน อี คริสโตบอล | เอ็ม บาลากริชนัน | ชาติ กอบจิตติ | |||||
พ.ศ. 2526 | วาย. บี. มังกุนวิชายา | อาคิบา อามิน | เอดิแบร์โต เทียมโป | อาร์เธอร์ ยัป | คมทวน คันธนู(ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร) | |||||
พ.ศ. 2527 | บูดิ คาร์มะ | ลาติฟ โมฮิดิน | เวอร์จิเนีย มอริโน | ว่อง ยุน หว่า | วาณิช จรุงกิจอนันต์ | |||||
พ.ศ. 2528 | อับดุล ฮาดิ้ | รินา วาตี | คาเรโด เดเมทิลโล | สเมล บิน ฮาจิ | กฤษณา อโศกสิน(สุกัญญา ชลศึกษ์) | |||||
พ.ศ. 2529 | มุสลิม บุรมัต | ซาปาร์ดี ดโจโก ดาโมโน | เคมาลา | โฮเซ ซิซัน | ปารานัน | อังคาร กัลยาณพงศ์ | ||||
พ.ศ. 2530 | ทัจญี ยะห์ยา บิน ทัจญี อิบราฮิม | ดร. อุมาร์ คัยยาม | นูร์ดิน ฮัสซัน | เบียงเวนิโด เอ็น ซานโตส | ดร. ลี ซู เพ็ง | ไพฑูรย์ ธัญญา(ธัญญา สังขพันธานนท์) | ||||
พ.ศ. 2531 | ฮาจิ ลีมัน บิน อาหมัด | ดานาร์โต | อาซิซิ ฮาจิ อับดุลลาห์ | เวอร์จิลิโอ เอศ อัลมาริโอ | ลิวไป่อัน หรือ จัวบุนเทียน | นิคม รายยวา(นิคม กอบวงศ์) | ||||
พ.ศ. 2532 | ฮาจิ บิน ฮาจิ โมฮัมหมัด ซาอิด | เกอร์สัน ปอยส์ | สิติ ไซมอน อิสไมล์ | ลีนา เอสปินา มัวร์ | สุรัตมาน มาร์กาซาน | จิระนันท์ พิตรปรีชา | ||||
พ.ศ. 2533 | โมหะมัด ซาเลห์ บิน อับดุล ลาติฟ | อาริฟิน ซี โนเออร์ | ส. โอธมาน เกลันตัน | คาร์แมน แกร์โร นักปิล | รามา กันนาพิรัน | อัญชัน(อัญชลี วิวัธนชัย) | ||||
พ.ศ. 2534 | ฮาจิ มูฮัมหมัด ซาอีน | สุบาจิโอ ซัสโตรวาร์โดโย | จิฮาติ อาบาดิ | อิซากานิ อาร์ ครูซ | โกปาล บาราธัม | มาลา คำจันทร์(เจริญ มาลาโรจน์) | ||||
พ.ศ. 2535 | Awang Haji Abdul Rahman | อาลี อัคบาร์ เนวิส | อิสเมล อับบาส | อัลเฟรด เอ ยูซอน | เฉิง เหวง ยัด | ศักดิ์สิริ มีสมสืบ(กิตติศักดิ์ มีสมสืบ) | ||||
พ.ศ. 2536 | เปนกิรัน ฮาจี โมฮัมหมัด ยูซุพ | รามาดัน เค เอช | กามารัซซามัน อับดุล กาดีร์ | ลินดา ตี-แคสเปอร์ | มูฮัมหมัด อารีฟ อาห์หมัด | ศิลา โคมฉาย(วินัย บุญช่วย) | ||||
พ.ศ. 2537 | ยัง มุเลีย อาวัง ฮัจญี มอรซิดี บิน ฮัจญี มัรสัล | เตาฟิก อิสมาอิล | เอ วาฮับ อลี | บูนาเวนจูรา เอส เมดินา จูเนียร์ | นา โควินทสามี | ชาติ กอบจิตติ | ||||
พ.ศ. 2538 | เพนกิรัน ฮาจิ อาจิ มูฮัมมัด อับดุล อาซิส | อับมาด โทฮาริ | ซูไฮมิ ฮาจิ มูฮัมมัด | เตโอ ที อันโตนิโย | หลิว ฟู ฉั่น (ดาน ยิง) | ไพวรินทร์ ขาวงาม | ||||
พ.ศ. 2539 | เพนกิรัน ฮาจิ สับตุ | เรนดรา | ซาฮาราห์ นาวาวิ | ไมค์ แอล พิกอร์เนีย | โฮ มินฟอง | กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ | โต ฮู | |||
พ.ศ. 2540 | อาหวัง โมฮัมหมัด บิน หัจญี ติมบัง | เซโน กูมิรา อยีดารมา | มูฮัมหมัด หัจญี ซัลเลฮ์ | อเลฮันโดร โรเซส | อีลันโกวัน | วินทร์ เลียววาริณ | ||||
พ.ศ. 2541 | บาดารุดดิน เอช โอ | เอ็น ริอานติอาร์โน | ดร. ทองคำ อ่อนมณีสอน | รศ. ดร. ออตมาน ปูเต | ซินพิวขจุน อองเตง | มาร์นี แอล กิลาเตส | อับดุล กานิ ฮามิด | แรคำ ประโดยคำ(สุพรรณ ทองคล้อย) | มา วัน คัง | |
พ.ศ. 2542 | นอร์เซีย เอ็ม เอส | พิค ตุม คราเวล | ดร. คุนโทวิโจโย เอ็มเอ | จันตี เดือนสะหวัน | คาดิจาห์ ฮาซิม | อู่ เคียว อัง | โอพีเลีย ดีมาลานตา | ดร. แคทเธอรีน ลิม | วินทร์ เลียววาริณ | ฮิว ถิง |
พ.ศ. 2543 | เปฮิน ดาโต๊ะ อับดุล อะซีส บิน จูเนด | กุง บุน เชือน | วิสรัน ฮาดี | สุวันทอน บุปผานุวง | ลิม สวี ติน | ดอว์ ยิน ยิน | อันโตนิโอ เอ็นริเกซ | เทโอ ฮีลา | วิมล ไทรนิ่มนวล | เหงียน ไค |
พ.ศ. 2544 | อาหวัง ฮัจจี อิบบราฮิม บิน ฮัจจี มูฮาหมัด | เมา อายุทธ | ไซนี เค เอ็ม | โสมสี เดชาคำพู | ซากาเรีย อาร์ริฟิน | อู ทิน จี | เฟลิซ พรูเดนเต ซันตา มาเรีย | โมฮัมเมด อิกบัล | โชคชัย บัณฑิต(โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์) | เหงียน ดุ๊ก เมา |
พ.ศ. 2545 | รอสลี อบีดิน ยาห์ยา | เซง ซัม อัน | ดาร์มันโต จัตมัน | วิเศษ แสวงศึกษา | ดร. อันวาร์ บิน ริดห์วัน | โรแบร์โต ที อโนนูเอโว | โมฮัมเหม็ด ลาทิฟ บิน โมฮัมหมัด | ปราบดา หยุ่น | เหงียน เคียน | |
พ.ศ. 2546 | รศ.ดร. หะจี ฮาชิม บิน หะจี อับดุล ฮามิด | คิม ปินุน | เอน เอช ดินี | เทียบ วงปะกาย | ดร. ซาคาเรีย อาลี | ดร. โดมินโก จี. แลนดิโช | ฟิลิป ชัยรัตนัม | เดือนวาด พิมวนา(พิมใจ จูกลิ่น) | บาง เวียด | |
พ.ศ. 2547 | หะจี จาวาวี บิน อะหมัด | เช ชัป | กุส ทีเอฟ ซาไก | ทองใบ โพธิสาน | ซูรินาห์ ฮัซซัน | ดร. เซซาร์ รูอิซ อากีโน | ดร. ซูน ไอ ลิง | เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ | โด ชู | |
พ.ศ. 2548 | ราฮิมี เอ. บี. | เมียช ปอนน์ | อาเซป แซมแซม นูร์ | บุญเสิน แสงมณี | อับดุล คะฟาร์ อิบราฮิม | มาลู ฮาคอบ | พี. กฤษณัน | บินหลา สันกาลาคีรี(วุฒิชาติ ชุ่มสนิท) | ฟู ตรัม (อินระสะระ) | |
พ.ศ. 2549 | สะวัล ราจาบ | วันนาริรัก ปาล | สิเตอร์ สิตูโมรัง | ดวงเดือน บุนยะวง | จอง เชียน ไล | วิกเตอร์ เอมมานูเอล คาร์เมโล ดี. นาเดรา จูเนียร์ | อีซา กามารี | งามพรรณ เวชชาชีวะ | เล ฟาน เถา | |
พ.ศ. 2550 | หะจี ม็อกซิน บินหะจี อับดัล การดีร์ | อม สุภาณี | สุปาร์โต บราตา | รัตนวง หุมพัน | ศาสตราจารย์ เราะห์มาน ชารี | - | ไมเคิล โคโรซา | เรกซ์ เชลลี | มนตรี ศรียงค์ | ชัน วัน ตวน |
พ.ศ. 2551 | หะจี โมฮัมมัด บิน แปงกิรัน หะจี อับดุล เราะห์มาน | ซิน โตจ | ฮัมซาด รังกุติ | โอทอง คำอินซู | ฮัตตา อาซัด ข่าน | - | เอลเมอร์ อาลิงโดกัน ออร์โดเนซ | สเตลลา กอน | วัชระ สัจจะสารสิน(วัชระ เพชรพรหมศร) | เหวียน หงอก ตือ |
พ.ศ. 2552 | ฮัจญา นอร์เซีย บินติ อับดุล กาปาร์ | - | ฟลอริเบอร์ตุส ราฮาร์ดี | คำแสง สีโนนทอง | อัซมาห์ นอร์ดีน | - | อับดอน เจอาร์ บัลเด | เจีย วี เพง | อุทิศ เหมะมูล | กาว ยวี เซิน |
พ.ศ. 2553 | วิจยา | - | อัฟริซัล มัลนา | ดารา กันละยา | ซาเอน กัสตูรี | - | มาจอรี เอวาสโก | โจฮาร์ บิน บวง | ซะการีย์ยา อมตยา | เหงียน นัต อัน |
พ.ศ. 2554 | โมฮัมเม็ด เซฟรี อารีฟ บิน โมฮัมเม็ด ไซน์ อารีฟ | - | ดี. ซาวาวี อิมรอน | บุนทะนอง ชมไชผน | โมฮัมเม็ด ซากีร์ ไซยิด บิน ไซยิด ออสมัน | - | โรมูโล พี. บากิรัน จูเนียร์ | รอเบิร์ต เหยา เฉิงชวน | จเด็จ กำจรเดช(สถาพร จรดิษฐ) | เหงวียน จี๋ ตรุง |
พ.ศ. 2555 | - | - | - | - | - | - | - | - | วิภาส ศรีทอง | - |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น